วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดยะลา
น้ำตกธารโต
น้ำตกธารโต
อยู่ที่ตำบลถ้ำทะลุ ห่างจากตัวเมืองยะลาไปตามถนนสายยะลา-เบตง (ทางหลวง 410) กิโลเมตรที่ 47-48 มีทางแยกขวาไปอีกราว 1 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ 7 ชั้น มองเห็นเป็นทางน้ำที่ไหลลดหลั่นมาจากภูเขาสูง มีแอ่งน้ำซึ่งสามารถเล่นน้ำได้ โดยรอบร่มรื่นไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจมากมายรวมทั้งต้นศรียะลา หรืออโศกเหลือง ซึ่งจะออกดอกชูช่อสีเหลืองสวยงามในราวเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
น้ำตกละอองรุ้ง
อยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปทางเบตงประมาณ 80 กิโลเมตร ด้านขวามือ มีทางเข้าไปยังหมู่บ้านที่อาศัยของชนเผ่าซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “เงาะซาไก” เดิมดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำนาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์ บ้านเรือนของซาไกเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก ต่อมา กรมประชาสงเคราะห์ได้พัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้ โดยรวบรวมชาวซาไกมาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน และให้มีอาชีพทำสวนยางและได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขอใช้คำว่า “ศรีธารโต” ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล ปัจจุบันมีชนเผ่าซาไกที่ยังคงอาศัยอยู่บ้าง แต่บางส่วนได้แยกย้ายไปทำงานที่อื่น
หมู่บ้านซาไก
อยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านแหร ห่างจากตัวจังหวัดยะลาไปทางเบตงประมาณ 80 กิโลเมตร ด้านขวามือ มีทางเข้าไปยังหมู่บ้านที่อาศัยของชนเผ่าซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “เงาะซาไก” เดิมดำรงชีวิตอยู่ด้วยการหาของป่า มีความชำนาญในด้านสมุนไพรและเป่าลูกดอกล่าสัตว์ บ้านเรือนของซาไกเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงหลังคาจาก ต่อมา กรมประชาสงเคราะห์ได้พัฒนาหมู่บ้านแห่งนี้ โดยรวบรวมชาวซาไกมาอาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน และให้มีอาชีพทำสวนยางและได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขอใช้คำว่า “ศรีธารโต” ให้ทุกคนใช้เป็นนามสกุล ปัจจุบันมีชนเผ่าซาไกที่ยังคงอาศัยอยู่บ้าง แต่บางส่วนได้แยกย้ายไปทำงานที่อื่น
เขื่อนบางลาง
ตั้งอยู่บ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ ห่างจากจังหวัดยะลาไปตามทางหลวงหมายเลข 410 ประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปอีก12 กิโลเมตร เขื่อนบางลางเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเอนกประสงค์แห่งแรกในภาคใต้ที่สร้างปิดกั้นแม่น้ำปัตตานี เป็นเขื่อนแบบหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 85 เมตร สันเขื่อนยาว 422 เมตร สามารถเก็บกักน้ำได้ 1,420 ล้านลูกบาศก์เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนบางลาง เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2524บริเวณเหนือเขื่อนในบริเวณที่ตั้งของสำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ มีจุดชมทิวทัศน์มองเห็นทัศนียภาพของเขื่อน อ่างเก็บน้ำและทิวเขาโดยรอบได้สวยงาม ติดต่อบ้านพักรับรอง โทร. 0 7328 1063-6 ต่อ 2206 บริการล่องเรือหรือแพชมทิวทัศน์ทะเลสาบเหนือเขื่อน โทร. โทร. 0 7328 1063-6 ต่อ 2209, 2205
พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ
ตั้งอยู่บนเนินเขาในตัวเมืองเบตง บริเวณวัดพุทธาธิวาส ถนนรัตนกิจ ลักษณะเจดีย์ก่อสร้างแบบศรีวิชัยประยุกต์ สีทองอร่าม สูง 39.9 เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสพระชนมายุครบ 60 พรรษา จากเจดีย์สามารถมองเห็นทัศนียภาพของวัดและเมืองเบตงอีกมุมหนึ่งได้สวยงาม
บ่อน้ำร้อนเบตง
ได้ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของเบตงที่มีน้ำพุเดือดขึ้นมาจากพื้นดินในหมู่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตาเนาะแมเราะ ก่อนถึงอำเภอเบตง 5 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 410 มีทางแยกขวาไปอีก 8 กิโลเมตร ตรงจุดบริเวณที่น้ำเดือดสามารถต้มไข่สุกภายใน 7 นาที มีบริการห้องอาบน้ำแร่ ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำแร่จากบ่อน้ำร้อนสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยและรักษาโรคผิวหนัง
น้ำตกอินทสร
อยู่ห่างจากตัวเมืองเบตง 15 กิโลเมตร หรือเลยจากบ่อน้ำร้อนเบตงไปอีก 2 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่เกิดจากภูเขา รอบบริเวณปกคลุมด้วยป่าไม้ร่มรื่น และมีแอ่งน้ำสามารถว่ายน้ำเล่นและพักผ่อนได้เป็นอย่างดี
ศาลาดูดวงจันทร์
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและจุดชมวิวของตำบลยะหา เป็นสถานที่สำหรับดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันเริ่มและสิ้นสุดของการถือศีลอดซึ่งเป็นข้อบัญญัติในศาสนาอิสลามเป็นประจำทุกปี ตั้งอยู่บริเวณภูเขาหลังโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช อำเภอยะหา
ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยศาลาดูดวงจันทร์
ตู้เดิมตั้งอยู่ที่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองเบตง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467 ตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จุดประสงค์ที่สร้างไว้ในครั้งแรกก็เพื่อใช้เป็นที่กระจายข่าวสารบ้านเมืองให้ชาวเมืองเบตงได้รับฟัง จากวิทยุที่ฝังอยู่ส่วนบนของตู้ และใช้เป็นตู้ไปรษณีย์มาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันได้มีการสร้างตู้ไปรษณีย์ขึ้นใหม่ใหญ่กว่าเดิมที่บริเวณศาลาประชาคม ถนนสุขยางค์ มีความสูงประมาณ 9 เมตร เป็นจุดเด่นที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
อุโมงค์ปิยะมิตร
อยู่ที่บ้านปิยะมิตร 1 ตำบลตะเนาะแมเราะ ใช้เส้นทางเดียวกับบ่อน้ำร้อนและน้ำตกอินทสร แต่อยู่เลยบ่อน้ำร้อนไปอีก 4 กิโลเมตร บริเวณนี้เป็นหมู่บ้านของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เดิมเคยเป็นฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (เขต 2)อุโมงค์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นอุโมงค์คดเคี้ยวเข้าไปในภูเขายาวประมาณ 1 กิโลเมตร ความกว้างประมาณ 50-60 ฟุต ใช้เวลาในการขุด 3 เดือน มีทางเข้าออกหลายทาง ใช้เป็นที่หลบภัยทางอากาศและสะสมเสบียง บริเวณนี้จัดให้มีนิทรรศการแสดงภาพประวัติศาสตร์ รวมทั้งวิถีการดำเนินชีวิตภายในป่า ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากอีกแห่งหนึ่งของเบตง เปิดให้เข้าชมเวลา 8.00 น-16.30 น.
พระพุทธไสยาสน์วัดคูหาภิมุข หรือวัดหน้าถ้ำ
เป็นหนึ่งในสามปูชนียสถานที่สำคัญของภาคใต้ เช่นเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช และพระบรมธาตุไชยาที่สุราษฎร์ธานี แสดงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าถ้ำ ห่างจากตัวเมือง 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอยะหา บริเวณวัดร่มรื่นมีธารน้ำไหลผ่าน บันไดขึ้นไปยังปากถ้ำมีรูปปั้นยักษ์ ชาวบ้านเรียกว่า “เจ้าเขา” สร้างโดยช่างพื้นบ้านเมื่อปี 2484 ภายในถ้ำมีลักษณะคล้ายห้องโถงใหญ่ ดัดแปลงปรับปรุงเป็นศาสนสถาน มีปล่องที่เพดานถ้ำยามแสงแดดส่องลงมาดูสวยงามมาก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ปี พ.ศ.1300 เป็นพระพุทธไสยาสน์สมัยศรีวิชัย มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว เชื่อกันว่าเดิมเป็นปางนารายณ์บรรทมสินธุ์ เพราะมีภาพนาคแผ่พังพานปกพระเศียร ต่อมาจึงได้ดัดแปลงเป็นพระพุทธไสยาสน์แบบหินยาน
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ตั้งอยู่ถนนพิพิธภักดี หน้าศาลากลางจังหวัดยะลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยอดเสาหลักเมืองให้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2505 ภายในศาลประดิษฐานยอดเสาหลักเมือง ซึ่งสร้างด้วยแก่นไม้ชัยพฤกษ์สูง 50 เซนติเมตร วัดโดยรอบที่ฐาน 43 นิ้ว ที่ปลาย 36 นิ้ว พระเศียรยอดเสาเป็นรูปพรหมจตุรพักตร์และเปลวไฟ บริเวณโดยรอบเป็นสวนสาธารณะ ร่มรื่น สวยงาม และจะมีการจัดงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง ระหว่างวันที่ 25–31 พฤษภาคม ของทุกปี
มัสยิดกลางอำเภอเบตง
ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล อำเภอเบตง เดิมมัสยิดกลางสร้างด้วยเสาไม้กลม 6 ต้น ใบจาก 6 ลายา ( ตับ ) โต๊ะอีหม่ามคนแรกชื่อ บือดีกา การีม เดิมเป็นคนจังหวัดปัตตานีมาสอนมวยซีละ ต่อมาก็ถึงแก่กรรมแล้วย้ายมัสยิดมายังหมู่บ้านกำปงบือตง ปัจจุบันหมู่บ้านเรียกว่ากำปงตือเย๊าะ โตะอีหม่ามชื่อ ฮัจยีวากือจิ ต่อมาย้ายไปตั้งที่หมู่บ้านกำปงยูรอ ฮัจยี ดาราโอ๊ะเป็นอีหม่าม และฮัจยีดารัง ฮัจดือเร๊ะตามลำดับ แล้วต่อมาย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบัน
อำเภอเบตง
เบตง มาจากภาษามลายู แปลว่า ไม้ไผ่ เป็นอำเภอที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ห่างจากตัวเมืองยะลาเป็นระยะทางประมาณ 140 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 โดยเฉพาะเส้นทางช่วงระหว่างอำเภอธารโต-เบตง เป็นเส้นทางคดเคี้ยวไปตามไหล่เขา มองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลสาบ ป่าไม้และสวนยาง ตัวเมืองเบตงตั้งอยู่ในโอบล้อมของขุนเขาอากาศเย็นสบาย มีฝนตกชุก และมักมีหมอกปกคลุมในยามเช้า จนได้รับสมญานามว่า “เมืองในหมอก ดอกไม้งาม” เป็นอำเภอใหญ่ที่มีความเจริญ ชาวมาเลเซียนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว มีอาหารการกินที่สมบูรณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งในและนอกตัวเมืองมากมาย
การเดินทางจากอำเภอเมืองยะลาไปเบตง มีบริการรถตู้หรือแท็กซี่ คิวรถตู้อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟยะลา รถออกทุก 1 ชั่วโมงระหว่างเวลา 6.00 - 17.00 น. หากเดินทางจากหาดใหญ่ มีบริการรถตู้ปรับอากาศไปยะลาและเบตง รถออกเวลา 8.00 น. 10.00 น. และ 13.00 น. หากเดินทางจากกรุงเทพฯ มีบริการรถโดยสารไปยังยะลาและเบตง ติดต่อสถานีขนส่งสายใต้ โทร. 0 2435 1199
การเดินทางจากอำเภอเมืองยะลาไปเบตง มีบริการรถตู้หรือแท็กซี่ คิวรถตู้อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟยะลา รถออกทุก 1 ชั่วโมงระหว่างเวลา 6.00 - 17.00 น. หากเดินทางจากหาดใหญ่ มีบริการรถตู้ปรับอากาศไปยะลาและเบตง รถออกเวลา 8.00 น. 10.00 น. และ 13.00 น. หากเดินทางจากกรุงเทพฯ มีบริการรถโดยสารไปยังยะลาและเบตง ติดต่อสถานีขนส่งสายใต้ โทร. 0 2435 1199
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏ เดิมเป็นโรงเรียนอาชีพประจำจังหวัด ตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2477 ที่หมู่บ้านมลายูบางกอก ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาเป็นผู้จัดตั้งโดยใช้เงินศึกษาพลี (เงินศึกษาพลีเป็นเงินที่รัฐเก็บจากชายไทยอายุ 18-60 ปี เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษา) เป็นค่าก่อสร้างสถานที่ จำนวนเงิน 2,000 บาท ดำรงโรงเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช 2464 สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และประโยคประถมบริบูรณ์ คือ ชั้นประถมปีที่ 6 ในสมัยนั้น วันที่ 17 พฤษภาคม 2478 ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่ข้างวัดพุทธภูมิ คือ ส่วนของบริเวณโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลาในปัจจุบัน ซึ่งการย้ายโรงเรียนในครั้งนี้ ด้วยสาเหตุที่ว่าที่ตั้งโรงเรียนเดิม คือ ที่มลายูบางกอกเป็นเนินสูงไม่เหมาะแก่การฝึกหัดภาคปฏิบัติ คือ การทำสวนปลูกผัก ในสมัยนั้นพระภูมิพิชัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีพัฒนาการมากว่า 80 ปี (นับถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2557) เริ่มจากการต่อตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู ตั้งปี พ.ศ. 2477 จนถึงในปัจจุบันยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)